วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผลงานของรัชกาลที่ 3




 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชประวัติ
        พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า ทับทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเจ้าจอมมารดาเรียม (ต่อมาทรงได้รับการเฉลิมพระอิสริยศักดิ์เป็น กรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 เมื่อแรกประสูติทรงดำรงพระยศเป็นหม่อมเจ้าด้วยเวลานั้นพระราชบิดายังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น เจ้าฟ้าต่างกรม และพระราชมารดาเป็นเพียงสามัญชน จนเมื่อสมเด็จพระราชบิดาได้รับการสถาปนาเป็นที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือตำแหน่งพระมหาอุปราชแล้ว พระราชโอรสและพระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดา จึงได้เลื่อนพระยศขึ้นเป็น พระองค์เจ้าทุกพระองค์  ต่อมาในปีพุทธศักราช 2356 ภายหลังจากที่พระราชบิดาเสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติแล้ว จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา พระองค์เจ้าทับ ขึ้นเป็นเจ้าฟ้าต่างกรม ทรงพระนามตามพระสุพรรณบัฎว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์
         กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ทรงพระปรีชาสามารถในศาสตร์หลายแขนง อาทิ ในด้านอักษรศาสตร์ พุทธศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ จึงเป็นเหตุให้ทรงได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากพระบรมชนกนาถให้ไปบังคับ บัญชาหน่วยราชการอื่น ๆ ต่างพระเนตรพระกรรณ   เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคตโดย มิได้ทรงตรัสมอบราชสมบัติพระราชทานให้แก่ผู้ใด ประกอบกับในรัชกาลของพระองค์ก็มิได้ทรงแต่งตั้งกรมพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ ตำแหน่งรัชทายาทไว้ ดังนั้น พระราชวงศ์และบรรดาข้าราชการจึงได้ปรึกษากันตามโบราณราชประเพณี เพื่อ เลือกผู้สืบราชสมบัติ เมื่อเห็นพ้องต้องกันแล้วจึงพากันเข้าเฝ้า ทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ แม้ตามที่ควรแล้วราชสมบัติควรจะตกแก่เจ้าฟ้ามงกุฎพระราชโอรสที่ประสูติแต่ สมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 แต่ด้วยเหตุที่เจ้าฟ้ามงกุฎยังทรงพระเยาว์และไม่เคยทรงงานใหญ่มาก่อนในขณะ ที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ทรงเจริญพระชนมายุมากกว่า และได้ทรงปฎิบัติราชกิจต่างพระเนตรพระกรรณจนเป็นที่ว้างพระราชหฤทัยมาโดย ตลอดตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ผนวกกับพระองค์ทรงเป็นผู้มีน้ำพระทัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่จนเป็นที่รักใคร่ นับถือแก่บรรดาเจ้านาย ข้าราชการ พ่อค้าและประชาชนทั่วไป รวมทั้งในช่วงเวลานั้นบ้านเมืองยังไม่สงบเรียบร้อยดีและยังคงมีข้าศึกมา ประชิดติดพันอยู่เนื่อง ๆ เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วจึงได้พร้อมกันถวายสิริราชสมบัติแต่กรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ โดยมีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2367 ทรงพระนามตามพระสุพรรณบัฎว่า พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสริฐ มหาเจษฎาบดินทร สยามินทราวโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

พระองค์ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญ และหัวเมืองชายทะเล

การคมนาคม

       ใน รัชสมัยของพระองค์ใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งในการสงครามและการค้าขาย คลองจึงมีความสำคัญมากในการย่นระยะทางจากเมืองหนึ่งไปอีกเมืองหนึ่ง จึงโปรดฯให้มีการขุดคลองขึ้น เช่น คลองบางขุนเทียน คลองบางขนาก และ คลองหมาหอน

การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

         พระองค์ทรง เลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก และได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมายเช่น พระประธานในอุโบสถวัดสุทัศน์ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดปรินายกและวัดนางนอง ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด คือ วัดบวรนิเวศวิหาร วัดเทพธิดารามและวัดราชนัดดาราม ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดเก่าอีก 35 วัด เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งสร้างมาแต่รัชกาลที่ 1 วัดอรุณราชวราราม วัดราชโอรสาราม เป็นต้น

การศึกษา

          ทรงทำนุบำรุง และ สนับสนุนการศึกษา โปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท แต่งตำราเรียนภาษาไทยขึ้นเล่มหนึ่งคือ หนังสือจินดามณ โปรดเกล้าฯ ให้ผู้รู้นำตำราต่างๆ มาจารึกลงในศิลาตามศาลารอบพุทธาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ปั้นตึ้งไว้ตามเขามอและเขียนไว้ตามฝาผนังต่างๆ มีทั้งอักษรศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ พุทธศาสตร์ โบราณคดี ฯลฯ เพื่อเป็นการเผยแพร่วิชาการสาขาต่างๆ จึงอาจกล่าวได้ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของกรุงสยาม

ด้านความเป็นอยู่

         พระองค์ ทรงเอาพระทัยใส่ดูแลทุกข์สุขของราษฎร ด้วยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่า ไม่ทรงสามารถจะบำบัดทุกข์ให้ราษฎรได้ หากไม่เสด็จออกนอกพระราชวัง เพราะราษฎรจะร้องถวายฏกาได้ต่อเมื่อพระคลังเวลาเสด็จออกนอกพระราชวังเท่า นั้น จึงโปรดให้นำกลองวินิจฉัยเภรีออกตั้ง ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อราษฎรผู้มีทุกข์จะได้ตีกลองร้องถวายฏีกาไปทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป โดยพระองค์จะคอยซักถามอยู่เนื่องๆ ทำให้ตุลาการ ผู้ทำการพิพากษาไม่อาจพลิกแพลงคดีเป็นอื่นได้
ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีศาสนาจารย์และนายแพทย์ชาวอเมริกันและอังกฤษเดินทาง เข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาเพิ่มมากขึ้น หนึ่งในจำนวนนี้คือศาสนาจารย์ แดน บีช บรัดเลย์ เอ็ม.ดี. หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนามของ หมอบรัดเลย ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ และการฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคและการทำผ่าตัดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงรัตน โกสินทร์ นอกจากนี้หมอบรัดเลย์ยังได้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้น (ปี พ.ศ. 2379) ทำให้มีการพิมพ์หนังสือภาษาไทยเป็นครั้งแรกโดยพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์เป็น ภาษาไทย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2339 ต่อมาปี พ.ศ. 2385 หมอบรัดเลย์พิมพ์ปฏิทินภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรก
ในด้านการหนังสือพิมพ์ฉบับแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 หมอบรัดเลยได้ออกหนังสือพิมพ์แถลงข่าวรายปักษ์เป็นภาษาไทย ชื่อ บางกอกรีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) มีเรื่องสารคด ข่าวราชการ ข่าวการค้า ข่าวเบ็ดเตล็ด ฉบับแรกออกเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2387
หนังสือบทกลอนเล่มแรกที่พิมพ์ขายและผู้เขียนได้รับค่าลิขสิทธิ์คือ นิราศลอนดอน ของหม่อมราโชทัย (ม.ร.ว. กระต่าย อิสรางกูร) โดย หมอบรัดเลย์ ซื้อกรรมสิทธิ์ไปพิมพ์ในราคา 400 บาท เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2404 และตีพิมพ์จำหน่ายครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404


http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type2/thai04/02/korrane%203.html



 

5 ความคิดเห็น: